นวัตกรรมการเรียนการสอน ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู –อาจารย์ จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ ที่ครู – อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ นั้น คือ นวัตกรรมทางการศึกษานั้นเองความหมาย คำจำกัดความของคำว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา” จึงหมายถึงสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่ ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยมีการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดีในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถ้าส่งผลงานในลักษณะนี้ต้องมีเอกสารประกอบด้วยการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง:โมเดลซิปปา ในปัจจุบันแนวการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาทั้งในประเทศและในต่างประเทศ แนวความคิดในการจัดการศึกษานี้ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้โดยการกระทำ(Learning by Doing)ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติในกิจกรรมที่หลากหลาย มีส่วนร่วมและเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อส่งเสริมความรู้ ความสามารถ และศักยภาพของผู้เรียน
โมเดลซิปปา(CIPPA MODEL) เป็นการเรียนการสอนที่เป็นแนวคิดหลักที่เป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางซิปปานี้พัฒนาขึ้นโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี อาจารย์ประจำภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักการศึกษาผู้มีประสบการณ์สอนและการนิเทศการสอน ได้กล่าวว่า แนวคิดในการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการศึกษาไทยมีมานานแล้ว แต่ยังไม่เกิดผลในการปฏิบัติที่เป็นน่าพอใจ ครูจำนวนมาก ขาดความรู้ความเข้าใจ และขาดแนวทางที่ชัดเจนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยเหตุผลนี้ ทิศนา แขมมณี จึงได้เสนอแนวคิดและแนวทางในการนำไปปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ความสำคัญกับการให้ผู้เรียนเป็นจุดสนใจ (Center of attention) หรือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ กล่าวคือ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หากผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นมาก ผู้เรียนก็จะเป็นผู้มีบทบาทในการเรียนรู้มาก และควรจะเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นตามมา แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพให้ผู้เรียนมีส่วนเรียนร่วมอย่างผูกพัน ทิศนา แขมมณี (2543) ได้เสนอไว้ดังนี้
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรช่วยให้ผู้เรียน ได้มีส่วนร่วมทางด้านร่างกาย คือ กิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อช่วยให้ประสาทรับรู้ของผู้เรียนตื่นตัว พร้อมที่จะรับข้อมูลสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้น ตามความเหมาะสมกับวัยและระดับความสนใจของผู้เรียน
แนวคิด การสอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้
ความหมาย การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดประสบการณ์ให้แก่นักเรียนเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริง
วัตถุประสงค์ การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน
1. มีประสบการณ์โดยตรง
2. ได้ทำการทดลองและพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
3. รู้จักการทำงานอย่างมีระบบ มีขั้นตอน
4. ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
5. ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา
6. ได้รู้จักวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา
7. ฝึกวิเคราะห์ และประเมินตนเอง
1. มีประสบการณ์โดยตรง
2. ได้ทำการทดลองและพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
3. รู้จักการทำงานอย่างมีระบบ มีขั้นตอน
4. ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
5. ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา
6. ได้รู้จักวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา
7. ฝึกวิเคราะห์ และประเมินตนเอง
ประเภทของโครงงาน
1. โครงงานแบบสำรวจ
2. โครงงานแบบทดลอง
3. โครงงานสิ่งประดิษฐ์
4. โครงงานทฤษฎี
1. โครงงานแบบสำรวจ
2. โครงงานแบบทดลอง
3. โครงงานสิ่งประดิษฐ์
4. โครงงานทฤษฎี
รูปแบบการจัดทำโครงงาน
1. ชื่อโครงงาน
2. คณะทำงาน
3. ที่ปรึกษา
4. แนวคิด / ที่มา / ความสำคัญ
5. วัตถุประสงค์ / จุดมุ่งหมาย
6. ขั้นตอนการดำเนินงาน / วิธีการศึกษา
7. แหล่ง / สถานศึกษา (ถ้ามี)
1. ชื่อโครงงาน
2. คณะทำงาน
3. ที่ปรึกษา
4. แนวคิด / ที่มา / ความสำคัญ
5. วัตถุประสงค์ / จุดมุ่งหมาย
6. ขั้นตอนการดำเนินงาน / วิธีการศึกษา
7. แหล่ง / สถานศึกษา (ถ้ามี)
8. วัสดุ อุปกรณ์
9. งบประมาณ
10. ระยะเวลาการดำเนินงาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
9. งบประมาณ
10. ระยะเวลาการดำเนินงาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ขั้นตอนในการสอนทำโครงงาน การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมี 4 ขั้นตอน คือ
1. กำหนดความมุ่งหมายและลักษณะโครงงานโดยตัวนักเรียนเอง
2. วางแผนหรือวางโครงงาน นักเรียนต้องช่วยกันวางแผนว่าจะทำอะไร ใช้วิธีการหรือกิจกรรมใด จึงจะบรรลุจุดมุ่งหมาย
3. ขั้นดำเนินการ ลงมือทำกิจกรรมหรือแก้ปัญหา
4. ประเมินผล โดยประเมินว่ากิจกรรมหรือโครงงานนั้นบรรลุผลตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ มีข้อบกพร่อง และควรแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างไร
1. กำหนดความมุ่งหมายและลักษณะโครงงานโดยตัวนักเรียนเอง
2. วางแผนหรือวางโครงงาน นักเรียนต้องช่วยกันวางแผนว่าจะทำอะไร ใช้วิธีการหรือกิจกรรมใด จึงจะบรรลุจุดมุ่งหมาย
3. ขั้นดำเนินการ ลงมือทำกิจกรรมหรือแก้ปัญหา
4. ประเมินผล โดยประเมินว่ากิจกรรมหรือโครงงานนั้นบรรลุผลตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ มีข้อบกพร่อง และควรแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างไร
วิธีการทำโครงงาน
1. ประชุมปรึกษาหารือ เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับหัวข้อของโครงงาน จากสิ่งต่อไปนี้
- การสังเกต หรือตามที่สงสัย
- ความรู้ในวิชาต่าง ๆ
- จากปัญหาใกล้ตัว หรือการเล่น
- คำบอกเล่าของผู้ใหญ่ หรือผู้รู้
2. เขียนหลักการ เหตุผล ที่มาของโครงงาน
3. ตั้งวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
4. กำหนดวิธีการศึกษา เช่น การสำรวจ การทดลอง เป็นต้น
5. นำผลการศึกษามาอภิปรายกลุ่ม
6. สรุปผลการศึกษา โดยการอภิปรายกลุ่ม
7. ปรับปรุงชื่อโครงงาน ให้ครอบคลุม น่าสนใจ
1. ประชุมปรึกษาหารือ เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับหัวข้อของโครงงาน จากสิ่งต่อไปนี้
- การสังเกต หรือตามที่สงสัย
- ความรู้ในวิชาต่าง ๆ
- จากปัญหาใกล้ตัว หรือการเล่น
- คำบอกเล่าของผู้ใหญ่ หรือผู้รู้
2. เขียนหลักการ เหตุผล ที่มาของโครงงาน
3. ตั้งวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
4. กำหนดวิธีการศึกษา เช่น การสำรวจ การทดลอง เป็นต้น
5. นำผลการศึกษามาอภิปรายกลุ่ม
6. สรุปผลการศึกษา โดยการอภิปรายกลุ่ม
7. ปรับปรุงชื่อโครงงาน ให้ครอบคลุม น่าสนใจ
การประเมินผลการทำโครงงาน ครูผู้สอนจะเป็นผู้ประเมินการทำโครงงานของนักเรียนแต่ละกลุ่ม โดยใช้แบบประเมินแผนผังโครงงานพิจารณาตามรายละเอียดดังนี้
1. ชื่อเรื่องแสดงถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. ชื่อเรื่องมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาคำถามมีการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิด
3. สมมติฐานมีการแสดงถึงพื้นฐานความรู้เดิม
4. วิธีการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา
5. แหล่งศึกษาสามารถค้นคว้าคำตอบได้
6. วิธีการนำเสนอชัดเจน เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลา
1. ชื่อเรื่องแสดงถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. ชื่อเรื่องมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาคำถามมีการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิด
3. สมมติฐานมีการแสดงถึงพื้นฐานความรู้เดิม
4. วิธีการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา
5. แหล่งศึกษาสามารถค้นคว้าคำตอบได้
6. วิธีการนำเสนอชัดเจน เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลา
การสอนให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง (Student Centered Learning)
โดยคำนิยามที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เป็นการเรียนการสอนตามความต้องการของนักศึกษา ซึ่งแต่ละคนมีความต้องการแตกต่างกัน จึงอาจเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ง่ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องเรียนขนาดใหญ่ การวิจัยพบว่าการสอนวิธีนี้ทำให้นักศึกษาสนใจเรียนมากขึ้น เพราะเป็นเรื่องที่เขาต้องการเรียน เป็นประโยชน์ต่ออนาคตของเขา ทำให้มีแรงจูงใจให้เรียนรู้ โดยครูเป็นผู้ประสานความรู้เพื่อให้นักเรียนไปถึงจุดหมาย
ครูจะต้องมองว่า เราสอนใคร เพื่อให้เขาทำอะไร และ จะสอนอย่างไร หากรู้พื้นฐานนักเรียน (สอนใคร) ก็จะสามารถจัดกระบวนการสอนให้สอดคล้องกับพื้นฐานเขาได้ และการสอนต้องให้เขาตระหนักในประโยชน์ (เพื่ออะไร) จากนั้นจึงดำเนินการสอน (อย่างไร) ให้สอดคล้องและได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งวิธีการสอนแบบให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง น่าจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง
วิธีการเสนอแนะในการสอนแบบนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง
1. อาจารย์แจกเค้าโครงรายวิชาให้นักศึกษา โดยอาจารย์ไม่สอน แต่แนะแนวทางให้นักศึกษาคิดและ แก้ปัญหา นักศึกษาจะต้องอ่านหนังสือมาก่อน นักศึกษาเป็นผู้ออกแบบเนื้อหา กำหนดเนื้อหาเอง ซึ่งการวัดผล จะต้องใช้ ข้อสอบที่มีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องยากพอสมควร
2. การเรียนแบบโครงงาน โดยในวิชานั้นนักศึกษาจะต้องทำโครงงานย่อย 4 โครงการ ใช้เวลาโครงการละ 2สัปดาห์ นักศึกษาจะต้องตั้งปัญหาในแต่ละโครงการแล้วเชื่อมต่อโครงการกับทฤษฎีที่อาจารย์เสนอแนะไว้ แต่ก่อนปิดรายวิชาอาจารย์ต้องสรุปและเสริมเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของรายวิชา
ประเด็นเสนอแนะปลีกย่อย
1. ครูต้องเก่งมากจึงจะเป็นผู้ประสานวิชาการอันหลากหลายได้
2. น่าจะปฏิรูปมหาวิทยาลัยให้เป็น Student Centered Service เสียด้วย คือให้นักศึกษาบริการตนเองในเรื่องต่างๆ ซึ่งจะฝึกให้นักศึกษารู้จักรับผิดชอบมากขึ้น
3. วิธีนี้สามารถทำได้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา แต่หากเป็นระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยจะต้องควบคุมขนาดชั้นเรียน และกำหนดทิศทางในการจัดการเรียนการสอนให้ชัดเจน
4. ความยากคือการตรวจงาน การประเมิน วิธีที่น่าทดลองคือ ให้เด็กตรวจงานกันเอง
5. น่าจะมีชั้นเรียนทดลองวิธีนี้ อาจารย์ท่านใดต้องการทดลองโปรดแจ้งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
6. อาจทดลองให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดเนื้อหาวิชาสัก 10 - 20 %
7. พอทำได้ในชั้นปีที่ 3 – 4 เนื่องจากนักศึกษามีความรู้พื้นฐานที่จะบูรณาการได้แล้ว ส่วนในชั้นปีที่ 1 – 2 นั้น อาจทำไม่ได้
8. สำหรับห้องเรียนขนาดใหญ่ รศ.ดร.ทวิช ทดลองใช้วิธีแบ่งกลุ่มทำการบ้านและตรวจการบ้านกันเองโดยการสลับกลุ่ม โดยเฉลยให้เฉพาะหลักการ นับว่าเป็นการเรียนแบบนเป็นศูนย์กลางในระดับหนึ่งและอีกรูปแบบหนึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น